ค่ายมวยสากลในประเทศญี่ปุ่น เกิดขึ้นครั้งแรกที่กรุงโตเกียว?เมื่อ?พ.ศ. 2464?โดยนักมวยชาวญี่ปุ่นชื่อ ยูจิโร่ วาตานาเบ้ ซึ่งเคยผ่านการชกที่ประเทศสหรัฐอเมริกามาก่อน จนได้รับการขนานนามว่า ?ราชันย์สี่ยก? ต่อมาใน?พ.ศ. 2495?โยชิโอะ ชิราอิ?ได้ประสบความสำเร็จเป็นนักมวยชาวญี่ปุ่นรายแรกที่ได้เป็นแชมป์โลก

วงการมวยสากลของญี่ปุ่นถึงจุดรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960?ถึงคริสต์ทศวรรษ 1970?เมื่อ?ไฟติ้ง ฮาราด้า?สามารถครองแชมป์โลกได้ถึง 2 รุ่น คือ?ฟลายเวทและแบนตั้มเวทในเวลาต่อมา ซึ่งฮาราด้าได้มีชื่อบรรจุอยู่ในหอเกียรติยศของวงการมวยสากลระดับนานาชาติด้วย ซึ่งฮาราด้าสามารถที่จะเอาชนะ?อีดอร์ โจเฟร่?นักมวยชาวบราซิล ซึ่งก็มีชื่อบรรจุอยู่ในหอเกียรติยศด้วยเช่นกัน และได้รับการยอมรับว่าเป็นนักมวยรุ่นแบนตั้มเวทที่ดีที่สุดในโลกในขณะนั้น

ต่อมาในคริสต์ทศวรรษที่ 1970 และคริสต์ทศวรรษที่ 1980?ต่อมาถึงคริสต์ทศวรรษที่ 1990?และจนถึงปัจจุบัน มีนักมวยญี่ปุ่นหลายรายได้เป็นแชมเปี้ยนโลก เช่น?โยโกะ กูชิเก้น?ซึ่งเป็นแชมป์โลกในรุ่นไลท์ฟลายเวทของสมาคมมวยโลก?(WBA) เป็นนักมวยที่ป้องกันแชมป์ได้ 13 ครั้งนับว่าสูงสุดของวงการมวยญี่ปุ่นด้วย,?จิโร วาตานาเบ้?ได้เป็นแชมป์โลกในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวทถึง 2 สถาบัน,?คัตสุย่า โอนิซูกะ?แชมป์โลกในรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวทของสมาคมมวยโลก และโจอิชิโร่ ทัตสุโยชิ?แชมป์โลกในรุ่นแบนตั้มเวทของสภามวยโลก?(WBC) 2 สมัย นับเป็นนักมวยที่สามารถเรียกผู้ชมในวัยรุ่นและกลุ่มคนที่ไม่ได้ชื่นชอบกีฬาประเภทนี้ให้มาสนใจขึ้นได้

โดยแชมป์โลกในรุ่นใหญ่ที่สุดเท่าที่ญี่ปุ่นเคยมี คือ?ชินจิ ทาเคฮาร่า?ในรุ่นมิดเดิลเวทของสมาคมมวยโลก แม้จะเป็นแชมป์โลกในเวลาสั้น ๆ ใน?พ.ศ. 2538?ก็ตาม

โดยหน่วยงานที่กำกับดูแลการชกมวยสากลในประเทศญี่ปุ่น คือ คณะกรรมการมวยแห่งญี่ปุ่น (JBC) ที่ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2495 นับเป็นหน่วยงานที่ค่อนข้างเข้มงวดในเรื่องการดูแลสุขภาพและคุณภาพของนักมวยและการแข่งขัน โดยให้การยอมรับสถาบันมวยสากลเพียง 2 สถาบันเท่านั้น คือ สมาคมมวยโลก (WBA) กับสภามวยโลก (WBC) เท่านั้น แม้จะมีนักมวยบางรายที่ขึ้นชกในรายการของสถาบันอื่น เช่น?สหพันธ์มวยนานาชาติ?(IBF),?องค์กรมวยโลก?(WBO) หรือสถาบันอื่น ๆ แต่นั่นก็มิได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการชุดนี้

นอกจากนี้แล้วคณะกรรมการมวยแห่งญี่ปุ่น ได้รับยอมรับสถาบันระดับภูมิภาค คือ สหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิก (OPBF) โดยนักมวยที่ได้แชมป์ของ OPBF จะมีชื่ออยู่ในอันดับโลก 10 อันดับในแต่ละรุ่นของสภามวยโลกทันที

นอกจากนี้แล้วยังมีอีกหน่วยงานหนึ่งที่กำกับดูแลการชกมวยในประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน คือ สหพันธ์มวยนานาชาติญี่ปุ่น (IBF) แต่หน่วยงานนี้ไม่ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากสื่อมวลชนและบุคคลในวงการมวยเท่าที่ควร

ซึ่งการกำกับดูแลคุณภาพของการชกมวยสากลในประเทศญี่ปุ่นนั้น ทางคณะกรรมการมวยแห่งญี่ปุ่นมีกฎเกณฑ์ดังนี้ คือ ค่ายมวยที่ตั้งขึ้นใหม่จะต้องบังคับจ่ายเงินเป็นจำนวน 10 ล้านเยนแก่คณะกรรมการฯ ทั้งนี้เพื่อมิให้มีค่ายมวยเกิดขึ้นอย่างไม่มีมาตรฐาน และเป็นการดูสถานภาพการเงินของค่ายมวยแต่ละรายด้วย อีกทั้งการขึ้นชกของนักมวยแต่ละรายจะต้องได้รับการอนุญาตและตรวจสุขภาพทั้งก่อนและหลังชก เพื่อดูแลมิให้นักมวยได้รับบาดเจ็บหรือทุพพลภาพจนเกินไปนั่นเอง

การถ่ายทอดการแข่งขันชกมวยในประเทศญี่ปุ่น จะทำการถ่ายทอดผ่านเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ในประเทศ โดยแบ่งเป็นแต่ละค่ายกับสถานีแต่ละสถานีไป โดยมีค่ายใหญ่ ๆ 4 ค่าย คือ ค่ายเคียวเอ้ กับสถานีทีวี โตเกียว, ค่ายโยเนคุระ กับสถานีทีวี อาซาฮี, ค่ายมิซาโกะ กับสถานีฟูจิ?และค่ายไทเคน กับสถานีเอ็นทีวี

นอกจากนี้แล้วความนิยมของกีฬามวยสากลในประเทศญี่ปุ่น ได้แพร่หลายไปยังวงการต่าง ๆ เช่น แวดวงวรรณกรรม?มีวรรณกรรมจำนวนมากที่เกี่ยวกับมวยสากล อาทินิตยสารฉบับต่าง ๆ ,?หนังสือพิมพ์,?นวนิยายเรื่องต่าง ๆ รวมถึง?ละครโทรทัศน์หรือการ์ตูนเรื่องต่าง ๆ อีกด้วย เช่น?โจ สิงห์สังเวียน?หรือ?ก้าวแรกสู่สังเวียน?เป็นต้น

ขอขอบคุณ?th.wikipedia.org

เชิญแสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพ

comments